Categories
การตลาดโรงแรม

5 วิธีสร้าง tracffic ให้เว็บไซต์โรงแรม (และเพิ่มยอดจอง)

หากคุณเป็นเจ้าของโรงแรม ผู้บริหาร หรือคนทำงานโรงแรม ที่กำลังพยายามหาวิธีในการเพิ่ม traffic จำนวนคนเข้าเว็บไซต์โรงแรมของคุณ แล้วยังพบกับปัญหาเดิมๆคือ ไม่ว่าจะ search หาข้อมูลยังไง คุณจะเจอแต่บทความที่ต่างพูดถึงวิธีการเดียวกันแบบเดิมๆ ซ้ำๆกันตลอดเวลา เช่น
ปรับปรุงเว็บไซต์โรงแรมของคุณให้เป็น Responsive หรือ Mobile friendly”
“โปรโมทบน social media ตาม Facebook, IG หรือ Tik Tok
“ออกโปรโมชั่นหรือแพ็กเก็จราคาที่ต่างจาก OTAs

เราเลยอยากนำเสนอเทคนิคและกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่ม traffic ให้กับเว็บไซต์โรงแรมคุณได้แน่นอน มันอาจจะเป็นกลยุทธ์ที่คุณไม่ได้ให้ความสำคัญมาก่อน หรือมองข้ามไปเลยด้วยซ้ำ แต่รับรองว่าเทคนิคที่เราเอามาบอกคุณนั้น มันใช้งบประมาณน้อยมาก หรืออาจจะไม่ต้องลงทุนเลยก็ได้ แถมยังประหยัดเวลาในการทำงานให้คุณอีกด้วยค่ะ

เริ่มกันตั้งแต่เบสิค เมื่อคนค้นหาชื่อโรงแรมคุณบน search engine

แน่นอนว่า เวลาคนจะค้นหาข้อมูลอะไรก็แล้วแต่ จะต้อง search หาใน Google กันก่อนเลย เมื่อมีคน search ชื่อโรงแรมของคุณใน Google search bar ผลลัพท์ที่แสดงขึ้นมาอันดับแรกคือ Google Map Pack หรือบางทีก็เรียกว่า Google Pack หรือ Map Pack เฉยๆ โดย Map Pack จะแสดงโปรไฟล์พร้อมโลเกชั่นบน Google Map ของธุรกิจต่างๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร สปา เป็นต้น ที่มีอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

ทุกครั้งที่คน search ชื่อโรงแรม ในผลลัพธ์ที่ Google แสดงขึ้นมานั้น จะช่วยให้คุณได้ traffic ไปยังโรงแรมของคุณ 4 ช่องทางด้วยกัน คือ

  • ลิงค์ Website
  • เบอร์โทรศัพท์
  • Google HPA (Hotel Price Ads)
  • Google Free Booking Links
4 paths to revenue

ในข้อ 4 เมื่อคนคลิกที่ View more rates กูเกิ้ลจะแสดงผลลัพธ์หน้า Free Booking Links ตามรูปด้านล่าง ซึ่งลิงค์กับเว็บไซต์โรงแรม

free-booking-links

ข้อ 2 เป็นการลงโฆษณาใน Hotel Ads (ซึ่งคุณต้องเสียเงิน) ส่วนอีก 3 ข้อนั้นฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

เว็บไซต์และเบอร์โทรศัพท์ของโรงแรม ระบบจะดึงมาจากข้อมูลใน Google Business Profile ที่เดิมชื่อว่า Google My Business หรือที่เรียกกันว่า GMB (ถ้าโรงแรมคุณยังไม่ได้ทำ Google Business Profile เราแนะนำอย่างยิ่งว่าคุณควรจะทำตอนนี้เลยค่ะ และถ้าคุณต้องการผู้ช่วยติดต่อเรามาได้เลย)

เทคนิคเพิ่มเติมที่อยากบอก

อย่างแรก ให้คุณเพิ่ม utm_source parameter ที่ url เว็บไซต์ที่ลิงค์ใน Business Profile เช่น www.yourhoteldomain.com ใส่เป็น www.yourhoteldomain.com?utm_source=GMB

ซึ่งคุณจะสามารถ track จำนวนการคลิกเข้าเว็บไซต์โรงแรมได้ว่าคุณได้ traffic ผ่านช่องทาง GMB หรือ Business Profile มากน้อยแค่ไหน

อย่างที่สอง เบอร์โทรศัพท์ที่ใส่ใน Business Profile หรือ GMB นั้น ต้องเป็นเบอร์ติดต่อตรงไปยังในแผนก Reservations ไม่ใช่เบอร์กลางที่ต้องผ่านโอเปอเรเตอร์ หรือต้องกดเบอร์ภายในอีกที ให้พยายามตัดขั้นตอนที่ยุ่งยากให้ลูกค้าของคุณเข้าถึงโรงแรมได้ง่ายที่สุดนะคะ เพราะ User Experience เป็นเรื่องที่สำคัญมากในยุคนี้

ทีนี้เรามาเข้าสู่เทคนิคและกลยุทธ์ที่อยากแนะนำกันเลยค่ะ

1. Retargeting Promotion การทำแคมเปญ Retargeting โดยให้ส่วนลดพิเศษโดยเฉพาะ

เราคงเคยได้ยินกันเสมอว่า การที่จะทำให้ลูกค้าใหม่ซื้อสินค้าหรือบริการในครั้งแรกนั้นยากกว่าการทำให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อซ้ำถึง 3 เท่า

เช่นเดียวกับคนที่จะจองโรงแรมตั้งแต่เข้าเว็บไซต์ทันทีในครั้งแรก เทียบกับคนที่เคยเข้าเว็บไซต์มาแล้วนั้น ย่อมเป็นไปได้ยากกว่า

แทนที่คุณจะกดดันและคาดหวังว่าคนจะจองห้องพักโรงแรมของคุณตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าในเว็บนั้น คุณควรจะอดทนรอและตั้งเป้ากับ first-time visitors ของคุณไว้ว่า เมื่อเค้าพร้อมที่จะจอง เค้าจะกลับมาเอง

โดยที่คุณจะต้องใช้กลยุทธ์ที่ดึงดูดลูกค้า และยื่นข้อเสนอแบบจำกัดเวลาให้เค้ากลับมาจองโรงแรมคุณภายในเวลาที่กำหนด เช่น ส่วนลดพิเศษ เมื่อจองภายในสิ้นเดือนนี้ สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ หรือบริการเสริมที่ first-time visitors เค้าอาจจะยังไม่เห็นตอนที่เค้าเข้าเว็บไซต์โรงแรมในครั้งแรก

discount-retargeting
ตัวอย่างโรงแรมที่ให้ส่วนลด Promotion code ในแคมเปญ Retargeing ที่โฆษณาไปยังกลุ่มคนที่เคยเข้าขมเว็บไซต์ของโรงแรมมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยังไม่ทำการจอง

ส่วนลดที่คุณนำเสนอลูกค้า ไม่จำเป็นต้องเป็น % หรือมูลค่าสูงแบบในตัวอย่างเสมอไป คุณอาจจะให้ส่วนลดเพียงแค่ 5% กับลูกค้าใหม่ในแคมเปญ Retargeting ก็ได้ เพราะมันจะเป็นที่น่าสนใจมากกว่าที่คุณแค่ยิงโฆษณาตามหลอนลูกค้าโดยที่ไม่ให้อะไรตอบแทนในการที่เค้าจะตัดสินใจเป็นลูกค้าของคุณ

2. เข้าร่วมกลุ่ม/ชุมชนใน Facebook Group

ลองดูตัวอย่างโพสต์ใน Facebook Group นี้

ในเฟซบุ๊กมีกลุ่มที่คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมกลุ่มกัน เพื่อแลกเปลี่ยนหรือสอบถามไอเดียกับคนในกลุ่มเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการท่องเที่ยว ที่กิน ที่พัก ที่มีทั้งคนที่อยากจะแชร์และคนที่อยากจะถาม

อย่างในตัวอย่าง เค้าต้องการคำแนะนำเรื่องที่พักในกระบี่ ซึ่งโพสต์แบบนี้ถือเป็นโอกาส ถ้าหากว่าโรงแรมเข้าร่วมกลุ่มนี้ โรงแรมจะสามารถนำเสนอห้องพักให้สมาชิกคนนี้ได้ รวมทั้งโพสต์นี้มีคนเข้ามาคอมเมนต์เพียงแค่คนเดียวเท่านั้น เรียกได้ว่าไม่มีคู่แข่งเข้ามาบิดสู้เลยก็ว่าได้

ที่สำคัญคือ ทุกวันนี้การคอมเมนต์ด้วยคำว่า “Book Now, Come to Us, Stay with Us, Super Deal” หรือคำโฆษณาต่างๆในทำนองที่ว่า “Buy Now Buy Now Buy Now” มันไม่ค่อยจะเหมาะสมกับชุมชนออนไลน์ซักเท่าไหร่

ลองย้อนกลับไปดู caption อีกที “Looking for suggestions” ซึ่งเค้าต้องการคำแนะนำจากคนในกลุ่ม ดังนั้นถ้าคุณเข้าไปมีส่วนร่วมกับ discussion นี้ในฐานะโรงแรม ก็เพียงแค่คอมเมนต์ตอบเพื่อให้คำแนะนำกับสมาชิกในกลุ่มแทนการที่จะมุ่งแต่ขายห้องพัก

และที่สำคัญที่สุด คุณต้องทำความเข้าใจอีกครั้งว่าในแพลตฟอร์มของ Social Media นั้นก็มีจุดประสงค์เพื่อให้คน(ทั้งเป็นเพื่อนกันและไม่ได้เป็นเพื่อนกัน) เข้ามามีส่วนร่วมกันในชุมชนออนไลน์ มี engagement และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ไม่ใช่แพลตฟอร์มเพื่อการขายตั้งแต่แรก

3. ลงทุนโปรโมทโพสต์เพื่อเพิ่มยอด engagement

ลองสมมุติดูว่า คุณได้ลงโพสต์ใน Facebook Page ของโรงแรมไว้ 2 โพสต์ด้วยกัน จนผ่านไป 3 วันคุณเช็คจำนวน engagement ในทั้งสองโพสต์ของโรงแรมแล้วพบว่า

  • Post A มียอดไลค์ 7 Likes และมี 1 คอมเมนต์
  • Post B มียอดไลค์ 100 Likes และมี 50 คอมเมนต์

เห็นได้ชัดว่าโพสต์ B ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก แต่ปัญหาก็คือมีเพียงแค่คนที่กดไลค์เพจโรงแรมแล้วเท่านั้นที่ได้เห็นโพสต์นี้ แล้วทีนี้คุณควรทำยังไงต่อดี? เพื่อให้คนเห็นโพสต์โรงแรมอันสวยงามของคุณ

ก็จัดการโปรโมทโพสต์ของโรงแรมคุณเลยค่ะ บูสต์โพสต์ให้คนเห็นมากที่สุด (แต่การ boost post ที่ว่านี้คุณจะต้องทำใน Facebook Ads Manager นะคะ ไม่ควร boost จากหน้าเพจโดยตรง เพราะนั่นเป็นวิธีการที่ง่าย แต่มันเป็นวิธีการที่คุณจะได้คนที่เข้ามา engage โพสต์ของคุณนั้นไม่ใช่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แท้จริงค่ะ)

แล้วยิ่งถ้าโพสต์นี้มี call-to-action ที่ลิงค์ไปที่หน้าเว็บไซต์ของโรงแรมเช่น หน้า blog, gallery หรือหน้า promotion แล้วล่ะก็ มันเป็นการสร้าง traffic ที่มีคุณภาพให้กับเว็บไซต์ของโรงแรมคุณโดยตรง ที่ทั้งง่ายและเซฟงบค่าโฆษณาอีกด้วย ลงทุนครั้งเดียวได้ผลลัพธ์ถึงสองทาง

4. สร้างบล็อกที่มีคุณภาพ

ก่อนอื่นขอถามคุณก่อนว่า เวลาที่คนตัดสินใจมาเที่ยวในพื้นที่ของโรงแรมคุณนั้น นั่นเป็นเพราะอะไร เพราะเค้าเลือกจากโรงแรมคุณ หรือเค้าเลือกจากสถานที่ท่องเที่ยว

แน่นอนล่ะว่าโรงแรมคุณสวย น่าพัก แต่จริงๆแล้วคนที่เลือกเดินทางมายังพื้นที่ที่โรงแรมคุณตั้งอยู่นั้น เป็นเพราะนักท่องเที่ยวต้องการมาเที่ยวชมสถานที่และความสวยงามของพื้นที่นั้นๆ หรือนักธุรกิจที่ต้องการมาติดต่องานในจังหวัดนั้นเป็นหลัก

การเขียนบล็อคที่นำเสนอคอนเทนต์เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว หรือจังหวัดที่โรงแรมคุณตั้งอยู่ จึงเป็นการตลาดอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญในการนำเสนอข้อมูลที่คนค้นหาและต้องการ เมื่อคนค้นหาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวแล้วเค้าเข้ามาอ่านโพสต์ในเว็บไซต์โรงแรมคุณ นั่นคือคุณได้ traffic ให้เว็บโรงแรมไปเต็มๆค่ะ

ถ้าคุณอยากได้ตัวอย่างแนวทางในการเขียนคอนเทนต์บนเว็บไซต์ของโรงแรมว่าควรเขียนอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพและช่วยสร้าง traffic ให้เว็บไซต์โรงแรมได้อย่างมีคุณภาพ สามารถดูตัวอย่างนี้ได้เลยค่ะ

5. ของรางวัลล่อใจเพื่อสร้าง social proof

ลองดูตัวอย่างนี้นะคะ

decoy-option

นี่เป็นหน้า homepage ของเว็บไซต์โรงแรมแห่งหนึ่ง

เราลองถามคุณดูเล่นๆว่า ระหว่างคำว่า “Book Early & Save Up to 15%!” กับตัวอย่างในเว็บนี้ “Want to win a Stay?” อันไหนมันน่าดึงดูดใจกว่ากันคะ

จริงอยู่ว่าส่วนลด 15% มันก็น่าสนใจไม่น้อยเลยใช่มั้ยคะ แต่ขอพูดตรงๆว่าข้อความพวกนี้มันน่าเบื่อแล้วจริงมั้ย โรงแรมทั่วโลกเกือบทั้งหมดก็ใช้โปรโมชั่นเดียวกันเพื่อต้องการให้คนจองห้องพักล่วงหน้า แล้วมันจะพิเศษกว่ากันตรงไหน?

แต่คุณก็อาจจะแย้งกลัวว่า คุณไม่ต้องการแจกห้องพักฟรี ใช่หรือเปล่า

แล้วถ้ามันมีลูกเล่นพิเศษที่จะทำให้คุณอยากแจกห้องพักฟรีล่ะ คุณจะสนใจบ้างมั๊ย?

อย่างเช่นว่า “แชร์ประสบการณ์ที่คุณได้รับจากการพักที่โรงแรมนี้บนโซเชียลมีเดีย และหากเพื่อนของคุณจองห้องพักผ่านลิงค์ในโพสต์ของคุณ 3 bookings ขึ้นไป คุณจะได้รับรางวัลห้องพักฟรี 2 คืน”

ลองคิดดูว่า คุณจะได้ยอดจองเพิ่มอีก 3 bookings แลกกับการแจกห้องพักฟรีให้กับลูกค้าคนที่รีวิวที่พักให้คุณ มันจะน่าสนใจขึ้นบ้างมั้ย

ห้องพักฟรีที่คุณให้กับลูกค้านั้น อาจจะเป็นห้องพิเศษที่ใช้สำหรับโปรโมทโรงแรมโดยเฉพาะ ไม่เพียงแค่คุณได้ลูกค้าที่เคยมาพักโปรโมทห้องให้คุณแล้ว ยังสามารถจูงใจลูกค้าใหม่ให้มาจองโรงแรมของคุณ และลูกค้าใหม่ที่มาพักแล้ว เค้าก็ยังจะอยากแชร์ห้องพักต่อไปอีก เพราะมีโอกาสที่เค้าจะได้รับห้องพักฟรีจากการแชร์ต่อๆไปอีกเช่นกัน

ลองนึกภาพตามดูว่า ถ้ามีการโพสต์และจองต่อกันไปเรื่อยๆแบบนี้แล้ว เรียกว่าคุ้มหรือเปล่าคะกับการแจกห้องพักฟรีแทนการทำโปรโมชั่นส่วนลดแบบเดิมๆ

ฟังดูแล้วเข้าท่าใช่มั้ยล่ะคะ

สรุปส่งท้าย

มีเทคนิคและกลยุทธ์การตลาดหลายอย่างสำหรับโรงแรมที่ OTAs ทำไม่ได้ มีเพียงแค่โรงแรมเท่านั้นที่จะนำไปปรับใช้ได้ เพื่อเรียก traffic และเพิ่มยอดจองตรงให้กับโรงแรม

กลยุทธ์ที่ทางเรานำเสนอไว้ให้ข้างบน คุณสามารถเอาไปปรับใช้ได้ทั้งหมด โดยที่บางเทคนิคใช้งบเพียงนิดเดียวหรือบางเทคนิคก็ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย

ถึงเวลาที่ทุกอย่างจะกลับมาปกติแล้ว อย่ามัวรีรอ รีบวางแผนและลงมือสร้าง traffic ให้เว็บไซต์โรงแรมของคุณให้คึกคัก ก่อนที่คู่แข่งของคุณเค้าจะช้อนเอา bookings ไปกันหมด

เริ่มกันเลยค่ะ

Categories
Facebook Ads การตลาดโรงแรม โฆษณาโรงแรม

3 เทคนิค Retargeting สำหรับโรงแรม กลยุทธ์เด็ดที่จะช่วยเพิ่มยอด (direct) bookings

หนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญสำหรับการทำโฆษณาออนไลน์ นั่นก็คือ กลยุทธ์ Retargeting สำหรับโรงแรม ที่หลายๆคนเรียกว่าเป็นการตลาดแบบตามหลอกตามหลอนลูกค้าไปทุกที่ หลังจากที่ลูกค้าได้เข้ามายังเว็บไซต์หรือเพจของคุณ ไม่ว่าเค้าจะเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆ หรือในหน้าเพจเฟซบุ๊ก ลูกค้ากลุ่มนั้นก็จะเจอโฆษณาของเราโผล่มาให้เห็น ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็คือกลุ่มเป้าหมายของโรงแรมนั่นเอง

ด้วยเทคนิคการทำ Retargeting อาจจะมีมากมายหลายร้อยวิธี แต่ Thai DYB ขอเลือกตัวเด็ดมา 3 เทคนิค Retargeting สำหรับโรงแรม ที่ควรนำไปใช้ ซึ่งเราเลือกจากประสบการณ์ที่เราทำงานให้ลูกค้าและมันได้ผลจริง ตามหลักการ 👉 TECHNOLOGY + STRATEGY = SUCCESS

1. Delayed Discount: โค้ดส่วนลด’ตามหลัง’

แน่นอนว่าส่วนใหญ่แล้วลูกค้าใหม่ที่เพิ่งเคยเข้ามายังเว็บไซต์โรงแรม จะยังไม่จองห้องพักตั้งแต่ครั้งแรก และลูกค้ามักจะ search และ compare ราคาโรงแรมกับ OTAs อีกด้วย ดังนั้นโรงแรมคุณควรต้องทำราคาห้องพักให้ Parity สำหรับลูกค้าใหม่ของคุณด้วย โดยคุณสามารถทำแคมเปญโฆษณา Retargeting ไปยังลูกค้ากลุ่มนี้ที่เข้าเว็บโรงแรมในครั้งแรก คนที่เข้ามา search ราคาห้องพัก แต่ยังไม่จอง โดยคุณให้ส่วนลด discount code พิเศษสำหรับลูกค้าใหม่เพื่อเป็นส่วนลดในการจองในครั้งแรก เท่านี้คุณก็มีโอกาสที่จะปิดการขายได้สูงขึ้น

2. Free Lead, Free Retargeting: เก็บรายชื่อ’ว่าที่ลูกค้า’แบบฟรีๆ

ตอนนี้ Booking engine ของโรงแรมคุณขอให้ลูกค้าคุณกรอกอีเมล์ในกับขั้นตอนเดียวกับการชำระเงินอยู่หรือเปล่าคะ

ถ้าใช่ มันน่าเสียดายมากเลยนะ คุณรู้มั้ยว่าถ้าโรงแรมคุณแยก process เป็น 2 ส่วนโดยที่ขั้นตอนแรกคุณขอแค่ชื่อ-นามสกุล กับอีเมล์ของเค้า แล้วเก็บเป็นฐานข้อมูลไว้ทำ CRM หลังจากลูกค้า submit

ซึ่งเมื่อคุณได้รายชื่อ ‘lead’ หรือ ‘ว่าที่ลูกค้า’ ของคุณมาแล้ว (แบบฟรีๆ) ทีนี้คุณก็จะทำแคมเปญ retargeting ไปยังรายชื่อกลุ่มที่ได้กรอกข้อมูลขั้นตอนแรก แต่ทำการจองไม่สำเร็จ เท่านี้คุณก็จะมีโอกาสได้ bookings จากลูกค้า potential กลุ่มนี้อีกเช่นกัน

3. Messenger (ฟรี!)

ง่ายๆตามนั้นเลย ใช้ Facebook Messenger เพื่อทำ retargeting ไปยังลูกค้า ที่ interactive กับคุณครั้งแรก แต่คุณสามารถใช้งานได้ ฟรี! ภายใน 24 ชม. เท่านั้น เพราะคุณจะไม่สามารถส่งข้อความหาลูกเพจของคุณก่อนได้ หากเค้าไม่ได้ inbox หาคุณก่อน

ธุรกิจของ Snaptravel เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมาก หลังจากที่ได้พลิกวิกฤติจากที่เกือบจะล้มละลายกลายเป็นประสบความสำเร็จภายในไม่ถึง 2 ปี หลังจากที่ผันตัวมาเป็น Messenger-based และ Whatsapp-based OTA.

P.S. >> เช่นเดียวกับ 2 ตัวอย่างแรก คุณสามารถดึงดูดลูกค้ากลุ่ม retargeting ของคุณ ด้วยการให้ส่วนลดหรือ benefit พิเศษ (มีกำหนดเวลานะ) โดยที่เค้าจะกลับมาหาคุณก่อนที่โปรนั้นจะหมดอายุ


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Retargeting for Hotels

Categories
การตลาดโรงแรม

20+1 เครื่องมือการตลาดสำหรับคนโรงแรม (Hotelier) ที่ไม่ใช้ไม่ได้แล้ว

เครื่องมือทางการตลาดสำหรับคนโรงแรม ที่จะมาแนะนำกันนี้ ทาง Directyourbookings ได้ใช้งานจริง (และยังใช้อยู่) แถมส่วนใหญ่ใช้กันได้แบบฟรีๆ หรือบางตัวที่เสียเงินก็เป็นเครื่องมือที่คุ้มค่าที่จะลงทุนจ่าย เราจึงรวบรวมมาให้ชาว Hotelier เจ้าของโรงแรม ผู้บริหารโรงแรม และคนทำงานโรงแรมแบบมืออาชีพทั้งหลาย ได้รู้จักและลองใช้กัน ตามมาดูกันเลยค่ะ

1) Pocket (Chrome extension)

เคยมั้ย? ที่บางที่เราเปิดเจอบทความหรือ blog ที่น่าสนใจ แต่จะต้องเข้าห้องประชุมแล้ว แทนที่จะปิดหน้าเว็บ แล้วทุกอย่างก็หายวับไปกับตา

Pocket เป็นส่วนขยายที่ติดตั้งบน Google Chrome ซึ่งช่วยให้คุณกดเซฟคอนเทนต์นั้นไว้ได้ทันที และยังจัดหมวดหมู่ หรือ filter สำหรับค้นหาทีหลังได้ และยังเปิดอ่านทีหลังบนมือถือหรือแทปเล็ตก็ได้ เซฟได้ทั้งบทความ วีดีโอ สตอรี่ หน้าเว็บ หรือแม้แต่แอพสำหรับมือถือ

ใครที่ชอบอ่าน ไม่มีไม่ได้แล้ว เพราะ Pocket ช่วยให้คุณอ่านที่ไหน อ่านเมื่อไหร่ก็ได้

2) AppSumo (Marketplace)

AppSumo เป็นเว็บที่รวบรวมดีลราคาพิเศษของเครื่องมือในการทำธุรกิจต่างๆ สำหรับ Business, Website และ Online Marketing ที่เหมาะกับธุรกิจโรงแรม มีทั้ง plugin, template, ebook หลากหลายให้ซื้อกัน

แต่ละวันจะมีดีลพิเศษราคาแสนถูกในราคาหลักพัน เหลือแค่หลักร้อย และสำหรับคนที่ต้องการส่วนลด 10$ ในการซื้อครั้งแรก สามารถใช้ referal code ของเราได้ ซึ่งเราก็ได้ค่าแนะนำ 10$ เช่นกัน http://fbuy.me/v/alessandrocrotti848_1

3) If-So (WordPress plugin)

Plugin สำหรับการทำ dynamic content บนเว็บไซต์โรงแรม ที่เปลี่ยนไปตามการค้นหาของ user แต่ละคน ซึ่งเป็นการตลาดแบบ Personalization เช่น มีคน search คำว่า “โรงแรมใจกลางกรุงเทพ” บนหน้าเว็บก็จะแสดง headline ว่า “โรงแรมใจกลางกรุงเทพ” หรือ มีคน search คำว่า “โรงแรมมีสระว่ายน้ำ กรุงเทพ” บนหน้าเว็บก็จะแสดง headline ว่า “โรงแรมมีสระว่ายน้ำ กรุงเทพ”

มันเจ๋งใช่มั้ยล่ะ! ลองดูตัวอย่างการทำ dynamic content ใน conditions อื่นๆได้ ที่นี่

4) Rebrandly (Online Service)

ถ้าคุณคุ้นเคยกับ UTM tagging หรือลิงค์ url ยาวๆบนเว็บไซต์โรงแรมของคุณ แน่นอนมันเป็นลิงค์ที่คนไม่อยากจะคลิกซักเท่าไหร่

Rebrandly ไม่ได้แปลง url ของโรงแรมคุณจนสั้นไม่หลงเหลือชื่อเว็บไซต์โรงแรม แต่ลิงค์ยังคงชื่อโดเมนไว้ ทำให้แบรนด์ของโรงแรมยังอยู่

5) Google Tag Assistant (Chrome extension)

Google Analytics, Adwords Conversion Tracking, Floodlight tag, Google Tag Manager…ที่เรียกว่า tracking code ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเราต้องใช้เว็บเอเจนซี่ในการเช็คว่า tracking code เหล่านี้ทำงานตามปกติหรือเปล่า

จะดีกว่ามั้ยถ้าเราสามารถเช็คได้เอง ด้วยการติดตั้ง Google Tag Assistant ส่วนขยายใน Google Chrome แค่นี้คุณก็เช็คหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้าได้ รวมถึงเช็คเว็บไซต์ของโรงแรมคู่แข่งและใน booking engine ได้เลยว่ามีการติดตั้ง tracking code อะไรไว้

ต้องการติดตั้ง tracking code และ advance analytics report บนเว็บไซต์โรงแรมของคุณและบน booking engine เรายินดีให้คำปรึกษาฟรี! คลิกที่นี่
6) Facebook Pixel Helper (Chrome extension)

ส่วนขยายบน Google Chrome ที่ทำงานเหมือนกัน Google Tag Assistant คือสำหรับเช็คการทำงานของ Facebook pixel ที่ติดตั้งบนหน้าเว็บไซต์

7) Keywords Elsewhere (Chrome/Firefox extension)

เครื่องมือทางการตลาดที่ใช้สำหรับค้นหา keyword research สำหรับการทำ SEO และ SEM ที่มีข้อมูลทั้ง search volume รายเดือน, ราคา CPC, ข้อมูล competitors

8) Ubersuggest (Online service & Chrome extension)

เครื่องมือทางการตลาดสำหรับคนโรงแรมที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง ที่ช่วยค้นหา keywords ที่พัฒนาโดยนักการตลาดออนไลน์ชื่อดัง Neil Patel มีตัวช่วยที่หลากหลายที่โรงแรมเอาไปใช้ได้ในการทำ SEO เพิ่ม traffic และดู keywords ของโรงแรมคู่แข่งได้ด้วย

9) Answerthepublic (Online service)

เครื่องมือทางการตลาด ใช้ในการค้นหา virtual keyword research ว่าตอนนี้คนกำลังค้นหาอะไรกันอยู่บ้าง เทรนด์ที่คนกำลังสนใจหาข้อมูล ซึ่งข้อมูลคีย์เวิร์ดพวกนี้นำไปต่อยอดในการทำ content marketing หรือ digital PR สำหรับโรงแรมได้

10) Canva (Online service)

หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับเว็บนี้แล้วพอสมควร Canva เครื่องมือในการออกแบบ graphic design โดยไม่ต้องใช้โปรแกรม มี template ให้เลือกมากมาย สำหรับโพสต์บนโซเชี่ยลมีเดีย, ทำ presentation หรือ infographic ชาวโรงแรมคนไหนที่ต้องดูแลสื่อและ social media ลองใช้กันดู แนะนำ pro version ที่มีฟีเจอร์และสต๊อครูปภาพ เพิ่มเติมจากเวอร์ชั่นฟรี ให้ใช้ได้อย่างไม่จำกัด

11) Zest (Chrome extension)

สำหรับชาวโรงแรมที่กำลังหาคอนเทนต์สำหรับทำการตลาด หรือแรงบันดาลใจในการทำการตลาด Zest เป็นศูนย์รวมคอนเทนต์จากเหล่านักการตลาดที่มาแชร์กัน และค้นหาได้จากที่นี่

12) UTM Builder (Online service)

เครื่องมือที่ช่วย generate ลิงค์ utm parameters ได้อย่างง่ายดาย สำหรับนักการตลาดของโรงแรมที่ต้องการ track ข้อมูลเพื่อฟีดไปยัง Google Analytics เพื่อให้เช็คได้ว่า sources และ mediums ไหนที่นำ traffic มายังเว็บไซต์โรงแรมและ booking engine

13) Icons8 (Online service)

แหล่งของฟรีสำหรับ stock รูปภาพ, ไอคอน, vector และเพลง โดยที่ไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อลิขสิทธิ์

14) Openpeeps (Online service)

เว็บของฟรีเหมือน Icons8 อีกเช่นกัน แต่สำหรับ Openpeeps น่าสนใจและแตกต่างตรงที่เป็นงานกราฟฟิค Avartar วาดมือ (hand-drawn illustration) ที่เอาไปใช้สร้าง content หรือ stories บน social media ได้

นอกจากมีให้ดาวน์โหลดฟรีแล้ว คุณยังสามารถสร้างคาแรคเตอร์ของคุณเองได้อีกด้วย

15) MLC Presentations (Online service)

บอกได้คำเดียวเลยว่า ดีงาม! MLC แหล่งรวมรูปภาพ stock photo ฟรีๆ ที่มีคุณภาพและสวยงาม เหมาะสำหรับการทำ business presentations

16) Colorzilla (Chrome/Firefox extension)

เครื่องมือดีๆที่ใช้ประโยชน์ได้ดีมาก เมื่อคุณต้องการทำ presentation ด้วยโทนสีเดียวกับเว็บไซต์ของคุณ เพียงคุณใช้ Colorzilla จิ้มไปที่สีที่แสดงอยู่บนหน้าเว็บไซต์ที่คุณต้องการ (เหมือนกับ color picker ในโปรแกรม Photoshop) คุณก็จะได้โค้ดสีนั้นเอาไปตั้งค่าในโปรแกรมอื่นได้เลย

17) Mojo (Mobile app)

แอพมือถือที่ใช้สร้าง Stories แบบแอนนิเมชั่นได้อย่างง่ายดาย มี template ให้เลือก เอาไว้โพสต์สตอรี่สวยๆบน Facebook และ Instagram ของโรงแรมให้ดึงดูดลูกค้าได้เลย

18) Emoji Keyboard (Chrome extension)

แค่คุณติดตั้งส่วนขยายนี้บน Google Chrome คุณก็จะมี emoji ไว้ใช้นอกจากบน facebook เพียงอย่างเดียว คุณสามารถเอาไปใส่ในโพสต์บน LinkedIn หรือ IG ได้

19) Yaytext (Online service)

ใครที่ยังไม่รู้ว่าเวลาโพสต์บน social media แล้วจะทำแคปชั่นให้เป็นตัวหนา ตัวเอียง หรือมีลูกเล่นแบบที่เราเห็นโพสต์ของคนอื่น Yaytext นี่แล่ะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้คุณสร้างคอนเทนต์สวยๆแบบมีลูกเล่นบนโซเชียลมีเดียของโรงแรมคุณได้ แค่พิมพ์ข้อความแล้วเลือกรูปแบบที่ Yaytext ฟอร์แมตให้คุณได้เลย

20) Quik (Mobile app)

Quik แอพสำหรับทำวีดีโอจาก Gopro ที่คุณไม่ต้องเป็นเจ้าของ Gopro ก็ดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี! คุณสามารถสร้างวีดีโอคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียหรือทำโฆษณา facebook ads ให้โรงแรมคุณได้เลย แค่ใช้รูปภาพโรงแรม มี template และ animation ให้เลือกพร้อมดนตรีประกอบ ใช้งานง่าย แถมยังสนุกอีกด้วย

+1

เครื่องมือทางการตลาดสำหรับคนโรงแรมตัวสุดท้ายที่เอามาแถมให้สำหรับ Hotelier ทุกคน ตัวนี้เป็นเครื่องมือที่ทาง Directyourbookings ใช้และชอบมาก เพราะมันเหมาะกับการทำการตลาดสำหรับโรงแรมเป็นที่สุด และยังใช้ support ลูกค้าได้อย่างดี

อยากรู้ กดที่นี่เลย แล้ว BOT ของเราจะแนะนำคุณเอง

Have fun ka 😉

source: directyourbookings.com

Categories
กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล การตลาดโรงแรม

7 กลยุทธ์ Lead-Magnets สำหรับโรงแรม

กลยุทธ์โรงแรม 7 ตัวอย่างการทำ Lead-Magnets แม่เหล็กดึงดูดคนให้กลายมาเป็นลูกค้าสำหรับโรงแรม คำว่า “Lead” ในความหมายทางการตลาด คือ “ว่าที่ลูกค้าของโรงแรม” หรือคนที่มีโอกาสจะจองโรงแรมบนเว็บไซต์ของคุณนั่นเอง โดยกลุ่มคนเหล่านี้คือคนที่แสดงความสนใจต่อสิ่งที่เรานำเสนอบนเว็บไซต์ เช่น คลิกสมัครรับข่าวสารจากทางโรงแรม เป็นต้นเราจะเปลี่ยนจากผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ กลายไปเป็นผู้จองห้องพักหรือลูกค้าของโรงแรมได้อย่างไร…

วันนี้ Direct Your Bookings มีเคล็ดลับการทำ Lead-Magnets กลยุทธ์ที่จะดึงดูดคนให้กลายมาเป็นลูกค้าของโรงแรม มาฝากกันค่ะ

1. ทำแผนที่การเดินทางท่องเที่ยวให้ลูกค้าไว้ใช้งาน (TRAVEL ITINERARY)

ออกแบบ Itinerary ท่องเที่ยวบน Google Map โดยใช้ฟีเจอร์ลับ(ที่ไม่ลับ) ‘Your Places’ สร้างลิสต์สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ (POIs) ในโลเกชั่นใกล้เคียงไว้สำหรับลูกค้าของโรงแรมวิธีการสร้างแผนที่ท่องเที่ยวแบบ step-by-step ใช้เวลาเพียงแค่ 20 นาที คลิกที่นี่: http://bit.ly/DYB-Itinerary

PRO Tip >> สร้างสรรค์โปรแกรมที่น่าสนใจด้วยข้อมูลแบบฉบับของคนท้องถิ่นและสถานที่ลับๆที่น้อยคนจะรุ้จัก

2. คู่มือภาษาท้องถิ่นที่ควรรู้สำหรับนักท่องเที่ยว

คำเหล่านี้นอกจากจะประโยชน์สำหรับนักท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการนำเสนอสิ่งที่นักท่องเที่ยวกำลังตามหา และนำเสนอได้ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ”ราคาเท่าไหร่” ภาษาเหนือพูดยังไง “อร่อย” ภาษาอีสานพูดยังไง How to say “Hello/Thank you” in Thai.

PRO Tip >> นอกจากจะเป็นประโยชน์แล้ว นักท่องเที่ยวยังสนุกกับการได้พูดภาษาท้องถิ่น ทำให้เป็นเรื่องสนุกและเหนือกว่าคำพื้นฐานด้วยคำอื่นๆที่น่าจดจำ

3. แบบทดสอบสนุกๆ (QUIZ)

 "[จังหวัด/เมืองของคุณ] คือจุดหมายปลายทางสำหรับทริปหน้าของคุณจริงหรือไม่? มาหาคำตอบจากแบบทดสอบนี้กันเลย"

ตั้งคำถามให้คนอยากรู้ เรื่องลับๆที่อยากหาคำตอบ แล้วครีเอทแบบทดสอบที่สนุกๆ

PRO Tip >> ท้ายแบบทดสอบ คุณอาจจะใช้วิธีการให้ผู้เล่นกรอกอีเมล์เพื่อดูคะแนนจากนักท่องเที่ยวทั้งหมด (คนส่วนใหญ่ชอบเปรียบเทียบ) วิธีนี้จะทำให้แบบทดสอบของคุณมีความท้าทายให้เล่น (คนส่วนใหญ่ชอบความท้าทายเช่นกัน)

4. แผนที่ร้านอาหารแนะนำ

อันดับแรก ลิสต์ประเภทร้านอาหารที่มีในพื้นที่ของคุณก่อน เช่น อาหารพื้นบ้าน, อาหารไทย, อาหารทะเล, อาหารอินเดีย, อาหารมังสวิรัติ เป็นต้น จากนั้นเลือกร้านเด็ดเพียง 1 ร้านจากแต่ละประเภท แล้วสร้างแผนที่รวมร้านอาหารแนะนำทุกร้านที่คุณสิลต์มาไว้บน Google Maps (ทำเช่นเดียวกับ lead-magnet 1)

PRO Tip >> ให้ข้อมูลร้านอาหารแบบสั้นๆ พร้อมจุดเด่นของแต่ละร้านที่คุณเลือกว่าทำไมร้านนี้คุณเชื่อว่าดีที่สุด อย่าลืม! ใส่โรงแรมคุณในแผนที่ร้านอาหารแนะนำนี้ด้วยให้ลูกค้ารู้ว่าแต่ละร้านห่างจากโรงแรมคุณเท่าไหร่

5. คูปองสำหรับลูกค้าใหม่ (1st-time visitors)

จากสถิติ 97% ของผู้ใช้จะยังไม่เปลี่ยนเป็นลูกค้าตั้งแต่ครั้งแรก ดังนั้นแทนที่คุณจะรุกให้คนทำการจองโรงแรมคุณในเวลาที่เค้ายังไม่พร้อม คุณควรมอบข้อเสนอพิเศษ (ที่ใช้ได้จริง) ให้เค้ากลับมาจองโรงแรมคุณทีหลัง เช่น แจกโค้ดส่วนลดสำหรับลูกค้าใหม่ กลยุทธ์โรงแรมตัวนี้ ใช้ได้ดีเสมอ

PRO Tip >> จะรู้ได้ยังไงว่าใครเป็นลูกค้าใหม่? มีหลายตัวช่วยที่สามารถแทรคได้ว่าใครเป็นลูกค้าใหม่ของคุณบนเว็บไซต์ โดยคุณอาจจะลงทุนเพียงเล็กน้อย (เช่น if-so) หรือเพียงแค่ติดตั้ง cookie โดยทำผ่าน Google Tag Manager ที่ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งชม. เป็นต้น

6. ไกด์บุคท่องเที่ยว (PDF)

"10 สถานที่สุดโรแมนติคใน [จังหวัดของคุณ]"
"10 กิจกรรมสุดหรรษาสำหรับครอบครัว ใน[จังหวัดของคุณ]"

คุณอาจจะเขียนบล็อกท่องเที่ยวบนเว็บไซต์โรงแรมและทำเป็นไฟล์ pdf ให้ดาวน์โหลดได้

PRO Tip >> เมื่อผู้ใช้อ่านบทความหรือดาวน์โหลดบทความจากทั้ง 2 บทความตัวอย่าง นั่นหมายความว่าผู้ใช้ได้แสดงตัวตนและความสนใจของเค้าออกมา จงใช้ข้อมูลนี้ให้เป็นประโยชน์ในการทำ retargeting

7. พันธมิตรร่วม (EXCLUSIVE 3RD-PARTY BENEFIT)

หาพาร์ทเนอร์ร่วมในพื้นที่ของคุณ เช่น ร้านอาหาร คาเฟ่/บาร์ แหล่งท่องเที่ยว จุดเช็คอิน อะไรก็แล้วแต่ โดยให้คูปองกับลูกค้าที่จองโรงแรม เป็นส่วนลดเมื่อไปใช้บริการสถานที่นั้นๆ ร้านค้าเหล่านั้นก็จะได้เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น ได้ประโยชน์ร่วมกันกับทางโรงแรม อย่าลืมใช้อำนาจการต่อรองนี้เพื่อให้ได้ดีลที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าบนเว็บไซต์ของโรงแรม

PRO Tip >> ต้องมั่นใจว่าเหล่าพาร์ทเนอร์ของคุณนั้นมีสิทธิพิเศษให้เฉพาะโรงแรมคุณเท่านั้น ไม่ได้เป็นพาร์ทเนอร์กับคู่แข่งหรือโรงแรมอื่นอีกมากมาย

Lead Magnets เป็นกลยุทธ์โรงแรมที่ทรงพลังที่ทำให้เกิดการตอบรับแบบต่างตอบแทน ซึ่งการตอบรับนี้มีศักยภาพ เป็นตัวโน้มน้าวที่กระตุ้นให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ของคุณรู้สึกอยากตอบแทนอะไรบางอย่างกลับไป นั่นก็คือผู้ใช้เหล่านี้จะทำการจองโรงแรมของคุณในท้ายที่สุดนั่นเอง

เคล็ดลับปิดท้าย

Lead-magnet โดยปกติจะเป็นการแจกของฟรีตอบแทน แลกกับการขออีเมล์ผู้ใช้งานแต่อย่างไรก็ดี การขออีเมล์ยังมีอุปสรรค ผู้ใช้งานที่มีโอกาสเป็นลูกค้าบางคนก็ละทิ้งไปอีกทางเลือกก็คือ (เหมือนที่เขียนไว้ในหัวข้อ 6) คุณแจก Lead-magnets ให้กับผู้ใช้งานโดยไม่ต้องมีการแลกเปลี่ยนอีเมล์ แล้วทำ retargeting โดยใช้ Google หรือ Facebook เพื่อเรียกผู้ใช้งานเหล่านั้นกลับมายังเว็บไซต์โรงแรมของคุณ ให้เข้าสู่การเรียกลูกค้าในส่วนอื่นๆตามที่แนะนำไว้ข้างต้น

source: directyourbookings.com