Grow Your Hotel Business & Revenue

5 tips to increase hotel website traffice

5 วิธีสร้าง tracffic ให้เว็บไซต์โรงแรม (และเพิ่มยอดจอง)

หากคุณเป็นเจ้าของโรงแรม ผู้บริหาร หรือคนทำงานโรงแรม ที่กำลังพยายามหาวิธีในการเพิ่ม traffic จำนวนคนเข้าเว็บไซต์โรงแรมของคุณ แล้วยังพบกับปัญหาเดิมๆคือ ไม่ว่าจะ search หาข้อมูลยังไง คุณจะเจอแต่บทความที่ต่างพูดถึงวิธีการเดียวกันแบบเดิมๆ ซ้ำๆกันตลอดเวลา เช่น
ปรับปรุงเว็บไซต์โรงแรมของคุณให้เป็น Responsive หรือ Mobile friendly”
“โปรโมทบน social media ตาม Facebook, IG หรือ Tik Tok
“ออกโปรโมชั่นหรือแพ็กเก็จราคาที่ต่างจาก OTAs

เราเลยอยากนำเสนอเทคนิคและกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่ม traffic ให้กับเว็บไซต์โรงแรมคุณได้แน่นอน มันอาจจะเป็นกลยุทธ์ที่คุณไม่ได้ให้ความสำคัญมาก่อน หรือมองข้ามไปเลยด้วยซ้ำ แต่รับรองว่าเทคนิคที่เราเอามาบอกคุณนั้น มันใช้งบประมาณน้อยมาก หรืออาจจะไม่ต้องลงทุนเลยก็ได้ แถมยังประหยัดเวลาในการทำงานให้คุณอีกด้วยค่ะ

เริ่มกันตั้งแต่เบสิค เมื่อคนค้นหาชื่อโรงแรมคุณบน search engine

แน่นอนว่า เวลาคนจะค้นหาข้อมูลอะไรก็แล้วแต่ จะต้อง search หาใน Google กันก่อนเลย เมื่อมีคน search ชื่อโรงแรมของคุณใน Google search bar ผลลัพท์ที่แสดงขึ้นมาอันดับแรกคือ Google Map Pack หรือบางทีก็เรียกว่า Google Pack หรือ Map Pack เฉยๆ โดย Map Pack จะแสดงโปรไฟล์พร้อมโลเกชั่นบน Google Map ของธุรกิจต่างๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร สปา เป็นต้น ที่มีอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

ทุกครั้งที่คน search ชื่อโรงแรม ในผลลัพธ์ที่ Google แสดงขึ้นมานั้น จะช่วยให้คุณได้ traffic ไปยังโรงแรมของคุณ 4 ช่องทางด้วยกัน คือ

  • ลิงค์ Website
  • เบอร์โทรศัพท์
  • Google HPA (Hotel Price Ads)
  • Google Free Booking Links
4 paths to revenue

ในข้อ 4 เมื่อคนคลิกที่ View more rates กูเกิ้ลจะแสดงผลลัพธ์หน้า Free Booking Links ตามรูปด้านล่าง ซึ่งลิงค์กับเว็บไซต์โรงแรม

free-booking-links

ข้อ 2 เป็นการลงโฆษณาใน Hotel Ads (ซึ่งคุณต้องเสียเงิน) ส่วนอีก 3 ข้อนั้นฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

เว็บไซต์และเบอร์โทรศัพท์ของโรงแรม ระบบจะดึงมาจากข้อมูลใน Google Business Profile ที่เดิมชื่อว่า Google My Business หรือที่เรียกกันว่า GMB (ถ้าโรงแรมคุณยังไม่ได้ทำ Google Business Profile เราแนะนำอย่างยิ่งว่าคุณควรจะทำตอนนี้เลยค่ะ และถ้าคุณต้องการผู้ช่วยติดต่อเรามาได้เลย)

เทคนิคเพิ่มเติมที่อยากบอก

อย่างแรก ให้คุณเพิ่ม utm_source parameter ที่ url เว็บไซต์ที่ลิงค์ใน Business Profile เช่น www.yourhoteldomain.com ใส่เป็น www.yourhoteldomain.com?utm_source=GMB

ซึ่งคุณจะสามารถ track จำนวนการคลิกเข้าเว็บไซต์โรงแรมได้ว่าคุณได้ traffic ผ่านช่องทาง GMB หรือ Business Profile มากน้อยแค่ไหน

อย่างที่สอง เบอร์โทรศัพท์ที่ใส่ใน Business Profile หรือ GMB นั้น ต้องเป็นเบอร์ติดต่อตรงไปยังในแผนก Reservations ไม่ใช่เบอร์กลางที่ต้องผ่านโอเปอเรเตอร์ หรือต้องกดเบอร์ภายในอีกที ให้พยายามตัดขั้นตอนที่ยุ่งยากให้ลูกค้าของคุณเข้าถึงโรงแรมได้ง่ายที่สุดนะคะ เพราะ User Experience เป็นเรื่องที่สำคัญมากในยุคนี้

ทีนี้เรามาเข้าสู่เทคนิคและกลยุทธ์ที่อยากแนะนำกันเลยค่ะ

1. Retargeting Promotion การทำแคมเปญ Retargeting โดยให้ส่วนลดพิเศษโดยเฉพาะ

เราคงเคยได้ยินกันเสมอว่า การที่จะทำให้ลูกค้าใหม่ซื้อสินค้าหรือบริการในครั้งแรกนั้นยากกว่าการทำให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อซ้ำถึง 3 เท่า

เช่นเดียวกับคนที่จะจองโรงแรมตั้งแต่เข้าเว็บไซต์ทันทีในครั้งแรก เทียบกับคนที่เคยเข้าเว็บไซต์มาแล้วนั้น ย่อมเป็นไปได้ยากกว่า

แทนที่คุณจะกดดันและคาดหวังว่าคนจะจองห้องพักโรงแรมของคุณตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าในเว็บนั้น คุณควรจะอดทนรอและตั้งเป้ากับ first-time visitors ของคุณไว้ว่า เมื่อเค้าพร้อมที่จะจอง เค้าจะกลับมาเอง

โดยที่คุณจะต้องใช้กลยุทธ์ที่ดึงดูดลูกค้า และยื่นข้อเสนอแบบจำกัดเวลาให้เค้ากลับมาจองโรงแรมคุณภายในเวลาที่กำหนด เช่น ส่วนลดพิเศษ เมื่อจองภายในสิ้นเดือนนี้ สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ หรือบริการเสริมที่ first-time visitors เค้าอาจจะยังไม่เห็นตอนที่เค้าเข้าเว็บไซต์โรงแรมในครั้งแรก

discount-retargeting
ตัวอย่างโรงแรมที่ให้ส่วนลด Promotion code ในแคมเปญ Retargeing ที่โฆษณาไปยังกลุ่มคนที่เคยเข้าขมเว็บไซต์ของโรงแรมมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยังไม่ทำการจอง

ส่วนลดที่คุณนำเสนอลูกค้า ไม่จำเป็นต้องเป็น % หรือมูลค่าสูงแบบในตัวอย่างเสมอไป คุณอาจจะให้ส่วนลดเพียงแค่ 5% กับลูกค้าใหม่ในแคมเปญ Retargeting ก็ได้ เพราะมันจะเป็นที่น่าสนใจมากกว่าที่คุณแค่ยิงโฆษณาตามหลอนลูกค้าโดยที่ไม่ให้อะไรตอบแทนในการที่เค้าจะตัดสินใจเป็นลูกค้าของคุณ

2. เข้าร่วมกลุ่ม/ชุมชนใน Facebook Group

ลองดูตัวอย่างโพสต์ใน Facebook Group นี้

ในเฟซบุ๊กมีกลุ่มที่คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมกลุ่มกัน เพื่อแลกเปลี่ยนหรือสอบถามไอเดียกับคนในกลุ่มเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการท่องเที่ยว ที่กิน ที่พัก ที่มีทั้งคนที่อยากจะแชร์และคนที่อยากจะถาม

อย่างในตัวอย่าง เค้าต้องการคำแนะนำเรื่องที่พักในกระบี่ ซึ่งโพสต์แบบนี้ถือเป็นโอกาส ถ้าหากว่าโรงแรมเข้าร่วมกลุ่มนี้ โรงแรมจะสามารถนำเสนอห้องพักให้สมาชิกคนนี้ได้ รวมทั้งโพสต์นี้มีคนเข้ามาคอมเมนต์เพียงแค่คนเดียวเท่านั้น เรียกได้ว่าไม่มีคู่แข่งเข้ามาบิดสู้เลยก็ว่าได้

ที่สำคัญคือ ทุกวันนี้การคอมเมนต์ด้วยคำว่า “Book Now, Come to Us, Stay with Us, Super Deal” หรือคำโฆษณาต่างๆในทำนองที่ว่า “Buy Now Buy Now Buy Now” มันไม่ค่อยจะเหมาะสมกับชุมชนออนไลน์ซักเท่าไหร่

ลองย้อนกลับไปดู caption อีกที “Looking for suggestions” ซึ่งเค้าต้องการคำแนะนำจากคนในกลุ่ม ดังนั้นถ้าคุณเข้าไปมีส่วนร่วมกับ discussion นี้ในฐานะโรงแรม ก็เพียงแค่คอมเมนต์ตอบเพื่อให้คำแนะนำกับสมาชิกในกลุ่มแทนการที่จะมุ่งแต่ขายห้องพัก

และที่สำคัญที่สุด คุณต้องทำความเข้าใจอีกครั้งว่าในแพลตฟอร์มของ Social Media นั้นก็มีจุดประสงค์เพื่อให้คน(ทั้งเป็นเพื่อนกันและไม่ได้เป็นเพื่อนกัน) เข้ามามีส่วนร่วมกันในชุมชนออนไลน์ มี engagement และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ไม่ใช่แพลตฟอร์มเพื่อการขายตั้งแต่แรก

3. ลงทุนโปรโมทโพสต์เพื่อเพิ่มยอด engagement

ลองสมมุติดูว่า คุณได้ลงโพสต์ใน Facebook Page ของโรงแรมไว้ 2 โพสต์ด้วยกัน จนผ่านไป 3 วันคุณเช็คจำนวน engagement ในทั้งสองโพสต์ของโรงแรมแล้วพบว่า

  • Post A มียอดไลค์ 7 Likes และมี 1 คอมเมนต์
  • Post B มียอดไลค์ 100 Likes และมี 50 คอมเมนต์

เห็นได้ชัดว่าโพสต์ B ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก แต่ปัญหาก็คือมีเพียงแค่คนที่กดไลค์เพจโรงแรมแล้วเท่านั้นที่ได้เห็นโพสต์นี้ แล้วทีนี้คุณควรทำยังไงต่อดี? เพื่อให้คนเห็นโพสต์โรงแรมอันสวยงามของคุณ

ก็จัดการโปรโมทโพสต์ของโรงแรมคุณเลยค่ะ บูสต์โพสต์ให้คนเห็นมากที่สุด (แต่การ boost post ที่ว่านี้คุณจะต้องทำใน Facebook Ads Manager นะคะ ไม่ควร boost จากหน้าเพจโดยตรง เพราะนั่นเป็นวิธีการที่ง่าย แต่มันเป็นวิธีการที่คุณจะได้คนที่เข้ามา engage โพสต์ของคุณนั้นไม่ใช่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แท้จริงค่ะ)

แล้วยิ่งถ้าโพสต์นี้มี call-to-action ที่ลิงค์ไปที่หน้าเว็บไซต์ของโรงแรมเช่น หน้า blog, gallery หรือหน้า promotion แล้วล่ะก็ มันเป็นการสร้าง traffic ที่มีคุณภาพให้กับเว็บไซต์ของโรงแรมคุณโดยตรง ที่ทั้งง่ายและเซฟงบค่าโฆษณาอีกด้วย ลงทุนครั้งเดียวได้ผลลัพธ์ถึงสองทาง

4. สร้างบล็อกที่มีคุณภาพ

ก่อนอื่นขอถามคุณก่อนว่า เวลาที่คนตัดสินใจมาเที่ยวในพื้นที่ของโรงแรมคุณนั้น นั่นเป็นเพราะอะไร เพราะเค้าเลือกจากโรงแรมคุณ หรือเค้าเลือกจากสถานที่ท่องเที่ยว

แน่นอนล่ะว่าโรงแรมคุณสวย น่าพัก แต่จริงๆแล้วคนที่เลือกเดินทางมายังพื้นที่ที่โรงแรมคุณตั้งอยู่นั้น เป็นเพราะนักท่องเที่ยวต้องการมาเที่ยวชมสถานที่และความสวยงามของพื้นที่นั้นๆ หรือนักธุรกิจที่ต้องการมาติดต่องานในจังหวัดนั้นเป็นหลัก

การเขียนบล็อคที่นำเสนอคอนเทนต์เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว หรือจังหวัดที่โรงแรมคุณตั้งอยู่ จึงเป็นการตลาดอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญในการนำเสนอข้อมูลที่คนค้นหาและต้องการ เมื่อคนค้นหาข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวแล้วเค้าเข้ามาอ่านโพสต์ในเว็บไซต์โรงแรมคุณ นั่นคือคุณได้ traffic ให้เว็บโรงแรมไปเต็มๆค่ะ

ถ้าคุณอยากได้ตัวอย่างแนวทางในการเขียนคอนเทนต์บนเว็บไซต์ของโรงแรมว่าควรเขียนอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพและช่วยสร้าง traffic ให้เว็บไซต์โรงแรมได้อย่างมีคุณภาพ สามารถดูตัวอย่างนี้ได้เลยค่ะ

5. ของรางวัลล่อใจเพื่อสร้าง social proof

ลองดูตัวอย่างนี้นะคะ

decoy-option

นี่เป็นหน้า homepage ของเว็บไซต์โรงแรมแห่งหนึ่ง

เราลองถามคุณดูเล่นๆว่า ระหว่างคำว่า “Book Early & Save Up to 15%!” กับตัวอย่างในเว็บนี้ “Want to win a Stay?” อันไหนมันน่าดึงดูดใจกว่ากันคะ

จริงอยู่ว่าส่วนลด 15% มันก็น่าสนใจไม่น้อยเลยใช่มั้ยคะ แต่ขอพูดตรงๆว่าข้อความพวกนี้มันน่าเบื่อแล้วจริงมั้ย โรงแรมทั่วโลกเกือบทั้งหมดก็ใช้โปรโมชั่นเดียวกันเพื่อต้องการให้คนจองห้องพักล่วงหน้า แล้วมันจะพิเศษกว่ากันตรงไหน?

แต่คุณก็อาจจะแย้งกลัวว่า คุณไม่ต้องการแจกห้องพักฟรี ใช่หรือเปล่า

แล้วถ้ามันมีลูกเล่นพิเศษที่จะทำให้คุณอยากแจกห้องพักฟรีล่ะ คุณจะสนใจบ้างมั๊ย?

อย่างเช่นว่า “แชร์ประสบการณ์ที่คุณได้รับจากการพักที่โรงแรมนี้บนโซเชียลมีเดีย และหากเพื่อนของคุณจองห้องพักผ่านลิงค์ในโพสต์ของคุณ 3 bookings ขึ้นไป คุณจะได้รับรางวัลห้องพักฟรี 2 คืน”

ลองคิดดูว่า คุณจะได้ยอดจองเพิ่มอีก 3 bookings แลกกับการแจกห้องพักฟรีให้กับลูกค้าคนที่รีวิวที่พักให้คุณ มันจะน่าสนใจขึ้นบ้างมั้ย

ห้องพักฟรีที่คุณให้กับลูกค้านั้น อาจจะเป็นห้องพิเศษที่ใช้สำหรับโปรโมทโรงแรมโดยเฉพาะ ไม่เพียงแค่คุณได้ลูกค้าที่เคยมาพักโปรโมทห้องให้คุณแล้ว ยังสามารถจูงใจลูกค้าใหม่ให้มาจองโรงแรมของคุณ และลูกค้าใหม่ที่มาพักแล้ว เค้าก็ยังจะอยากแชร์ห้องพักต่อไปอีก เพราะมีโอกาสที่เค้าจะได้รับห้องพักฟรีจากการแชร์ต่อๆไปอีกเช่นกัน

ลองนึกภาพตามดูว่า ถ้ามีการโพสต์และจองต่อกันไปเรื่อยๆแบบนี้แล้ว เรียกว่าคุ้มหรือเปล่าคะกับการแจกห้องพักฟรีแทนการทำโปรโมชั่นส่วนลดแบบเดิมๆ

ฟังดูแล้วเข้าท่าใช่มั้ยล่ะคะ

สรุปส่งท้าย

มีเทคนิคและกลยุทธ์การตลาดหลายอย่างสำหรับโรงแรมที่ OTAs ทำไม่ได้ มีเพียงแค่โรงแรมเท่านั้นที่จะนำไปปรับใช้ได้ เพื่อเรียก traffic และเพิ่มยอดจองตรงให้กับโรงแรม

กลยุทธ์ที่ทางเรานำเสนอไว้ให้ข้างบน คุณสามารถเอาไปปรับใช้ได้ทั้งหมด โดยที่บางเทคนิคใช้งบเพียงนิดเดียวหรือบางเทคนิคก็ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย

ถึงเวลาที่ทุกอย่างจะกลับมาปกติแล้ว อย่ามัวรีรอ รีบวางแผนและลงมือสร้าง traffic ให้เว็บไซต์โรงแรมของคุณให้คึกคัก ก่อนที่คู่แข่งของคุณเค้าจะช้อนเอา bookings ไปกันหมด

เริ่มกันเลยค่ะ

แชร์บทความ